วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ชีววิทยา



ชีววิทยา  ตรงกับภาษาอังกฤษว่า  biology  ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษากรีกโบราณ 2 คำ  ดังนี้
     
bios        หมายถึง     ชีวิต

     logos      หมายถึง     ความคิดและเหตุผล


ดังนั้นชีววิทยา  จึงหมายความว่า  " การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต "

การศึกษาชีววิทยาก็เหมือนๆกับวิทยาศาตร์สาขาอื่นๆ  คือ  จะต้องประกอบด้วยกระบวนการศึกษา [ Process ]  และความรู้ [ Knowledge ] 

     * กระบวนการศึกษา  มี  4 ขั้นตอน  ดังนี้

1. การกำหนดปัญหา  การกำหนดปัญหาที่ดีจะต้องสอดคล้องกับข้อเท็จจริง  และเป็นปัญหาที่มีความเป็นไปได้ในการหาคำตอบ  ไม่กว้างจนเกินไป  ซึ่งจะได้ปัญหามาจากการใช้ทักษะการสังเกต  โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5  ใช้เครื่องมือในการวัด  ซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ  ที่สำคัญคือข้อมูลจากการสังเกตจะต้องไม่ใส่ความคิดเห็นส่วนตัวลงไป

แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์  ยังเคยกล่าวไว้ว่า " การตั้งปัญหาย่อมสำคัญกว่าการแก้ปัญหา "

 สมมติฐาน [ Hypothesis ] เป็นการคาดคะเนคำตอบของไว้ล่วงหน้าซึ่งอาจจะถูกหรือไม่หรือไม่ก็ได้  สมมุติฐานจะเป็นแนวทางในการหาคำตอบ  ดังนั้น สมมุติฐานที่ดีจะต้องมีหลักการดังนี้

     2.1 สอดคล้องกับปัญหาและข้อเท็จจริง  ในแต่ละปัญหาจึงสามารถตั้งสมมุติฐานได้หลายข้อ

     2.2 ควรมีการกำหนดตัวแปรให้ชัดเจน  ตัวแปรในทางวิทยาศาสตร์มี 3 ตัวแปรคือ

        - ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ  [ Independent variable ]  คือ ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเกิดผลหรือเหตุการณ์นั้นๆ

        - ตัวแปรตาม  [ Dependent variable ]  คือ ผลที่เกิดจากตัวแปรต้น

        - ตัวแปรควบคุม  [ Control variable ]  คือ ปัจจัยที่จะมีผลต่อตัวแปรตามเช่นเดียวกับตัวแปรต้น  แต่เราไม่การศึกษาในขณะนั้น  จึงต้องควบคุมให้เหมือนกัน

     2.3 สมมุติฐานต้องเขียนด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย  และเป็นประโยคบอกบอกเล่า  เช่น  " ถ้า.......แล้ว......."

     2.4 ควรชี้แนะแนวทางในการหาคำตอบ


2. การตั้งสมมุติฐาน  

 3.1 ออกแบบการทดลอง  โดยต้องมีการกำหนดกลุ่มทดลอง [ Experimantal group ]  และกลุ่มควบคุม [ Control group ]  โดยกลุ่มทดลองจะได้รับตัวแปรต้น ในขณะที่กลุ่มควบคุมจะไม่ได้รับ  แต่ทั้ง 2 กลุ่มจะต้องได้ตัวแปรควบคุมเหมือนกัน

     3.2 ดำเนินการทอดลอง

     3.3 เก็บรวบรวมข้อมูลจากการทดลอง


3. การตรวจสอบสมมุติฐาน  เริ่มจาก  

     

 ปรากฏการณ์ หรือสิ่งใดๆ ที่เป็นอยู่จริงไม่เปลี่ยนแปลง  ได้จากการสังเกตโดยตรง

เช่น  พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตก     


     2. ข้อมูล [ Data ] คือ ข้อเท็จจริงที่รวบรวมได้  ส่วนใหญ่มาจากการทดลอง

    3. ทฤษฎี [ Theory ] คือ คำอธิบาย  หรือความคิดเห็นที่ได้มาจากสมมุติฐานและผ่านการตรวจสอบหลายครั้ง  สามารถใช้อ้างอิงได้  แต่ก็สามารถเปลี่ยนแปลงเมื่อได้รับข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้น

    4. กฎ [ Law ]  
คือ  ความจริงที่เน้นในด้านความสัมพันธ์ระหว่างเหตุผลกับผล  ซึ่งอาจเขียนสมการแทนได้

เช่น  กฎการถ่ายทอดพันธุกรรมของเมนเดล 

วิชาชีววิทยา  เป็นวิทยาศาสตร์ชีวภาพ [ Biologocal Science ]  ถ้าฟิสิกส์จะเป็นวิทยาศาสตร์กายภาพ



4. การแปลความหมายข้อมูลและสรุปผล  เพื่อให้ได้คำตอบของปัญหาอย่างแท้จริง  

* ความรู้  เป็นผลลัพธ์ที่ได้จากกระบวนการศึกษาที่กล่าวมา  ได้แก่

     1. ข้อเท็จจริง [ fact ]  คือ